วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ชนิดของ Microprocessor

ไมโครโปรเซสเซอร์ (MICROPROCESSOR) เป็นส่วนประกอบสำคัญในการประมวลผล กลางของคอมพิวเตอร์ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 
1. หน่วยควบคุม ( Control unit) 
2. หน่วยความจำ ( Memory unit) 
3. หน่วยคำนวน ( Arithmatic unit ) 
4. หน่วยส่งและรับสัญญาณ ( I/ O unit ) 
* กล่าวคือ คอมพิวเตอร์จะมีการคำนวนทางคณิตศาสตร์และทำฟังก์ชั่นลอจิกได้ หน่วยที่รับผิดชอบด้าน คำนวนในเครื่องคอมพิวเตอร์คือ หน่วยคำนวน (Arithematic and logical unit) เมื่อหน่วยคำนวนจะ สามารถทำฟังก์ชั่นใด ๆ จะต้องมีผู้บอกหรือควบคุม ซึ่งอาศัย หน่วยควบคุม ( Control unit ) เมื่อทำ การคำนวนก็ต้องมีข้อมูลที่จะนำมาคำนวนและคำนวนแล้วก็ต้องมีที่เก็บผล จึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำ (Memory unit) ซึ่งจะเป็นตัวเก็บและให้ข้อมูลแก่หน่วยคำนวนจุดประสงค์ของการออกแบบคอมพิว เตอร์มาก็เพื่อการใช้งานซึ่งต้องติดต่อเอาข้อมูลมาจากภายนอก และยังต้องแสดงข้อมูลให้ภายนอกได้ ด้วย จึงต้องมีหน่วยส่งและรับสัญญาณ ( I/O unit) ทั้งหมดนี้รวมไว้ในแผ่งวงจรเดียวกันเรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ 
ไมโครโปรเซสเซอร์ที่มี จำหน่ายในท้องตลาด โดยทั่วไปจะแบ่งออกตามตระกูลที่นำมาดังต่อไปนี้คือ 
1. พวกไบโพลา พวกนี้ได้แก่ลอจิกประกอบไปด้วยทรานซิสเตอร์ ซึ่งทำงานได้ด้วยกระแสทั้งสองประเภทคือ ลบ และบวก จึงเรียกว่า ไบโพลา (Bipolar ) ตระกูลนี้แบ่งย่อย ๆ ตามลักษณะวงจรคือ - ECL (Emitter Coupling Logic ) 
- IIL (Integrated Injection Logic) 
- TTL (Transistor Transistor Logic) 
- STTL (Schottky TTL) 
ทั้ง 4 พวกนี้มีคุณสมบัติแตกต่างกันเรื่องความเร็ว ภายในตระกูลไบโพลาเองความเร็ว แตกต่างกันแต่โดยส่วนรวมแล้วมีชื่อเสียงเรื่องความเร็วสูง 
2. พวก MOS (Metal Oxide Semiconductor) พวกนี้ลอจิกเป็นทรานซิสเตอร์ เช่นกัน แต่ เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด Mofet แบ่งออกเป็นพวกตามลักษณะวงจรและสารที่ทำ คือ - PMOS (P- Channel Metal Oxide Semiconductor) 
- NMOS (n-channel Metal Oxide Semiconductor) 
- CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor ) 
พวก MOS มีคุณสมบัติดีเด่นมากเรื่องกินกำลังไฟต่ำ ในการเลือกไมโครโปรเซสเซอร์ที่เหมาะสำหรับงานต่าง ๆ จะต้องพิจารณาข้อมูลให้ละเอียดจึงจะได้ระบบที่ดีเหมา กับงานมากที่สุดซึ่งปัจจุบันได้มี ไมโครโปรเซสเซอร์ของ Intel pentium เกิดขึ้นมาเพื่อลองรับการใช้งานที่มี ระบบ Multimedia ภาพกราพฟิก

ที่มา  http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5c393e59ea4edb23

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น