วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติ Intel/AMD/Apple A4

ประวัติและวิวัฒนาการของ CPU INTEL

หลังจากที่ Intel ออกCPU สำหรับอุปกรณ์พกพาในชื่อว่า Atom ไปเรียบร้อยแล้วนั้น กระแสก็ออกมาแรงเห็นๆ ทั้งกลุ่มผู้ผลิตมากมายก็เจาะตลาดขาย Netbook กันอย่างล้นหลาม Intel นั้นมีตำนานในการผลิต Microprocessor ตั้งแต่ใช้ในเครื่องคิดเลข และพัฒนาต่อยอดขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งทำให้เห็นว่าศักยภาพของการพัฒนาที่ไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ทำให้เราได้ใช้เทคโนโลยีอย่างไร้ขีดจำกัด อยู่ที่ว่าเงินในกระเป๋า
เราจะมีแค่ไหน ที่นี่เรามาย้อนดูวิวัฒนาการกัน

Intel 4004 (1971)

Microprocessor รุ่นแรกของ Intel ใช้งานในเครื่องคิดเลข


Intel 8086 / 8088 (1978-1979) 


ซีพียูรุ่น 8086 เป็นซีพียูของอินเทลที่ทำงานแบบ 16 บิตแบบสมบูรณ์ เพราะทั้งสถาปัตยกรรม ภายในและภายนอกเป็นแบบ 16 บิตอย่างแท้จริง ต่างจาก 8088 ที่สถาปัตยกรรมภายในเป็น ระบบประมวลผลแบบ 16 บิต แต่สถาปัตยกรรมภายนอกที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดาต้าบัส เพื่อ รับส่งข้อมูลเป็นแบบ บิต

Intel 80286 (1982) 


ในปี ค.ศ. 1982 อินเทลก็ได้ผลิตซีพียูรุ่น 80286 ที่มีความเร็วเพียงแค่ เมกิเฮิรตช์ ซึ่งบัสของ 80286 เป็นแบบ 16 บิต ภายในมีทรานซิลเตอร์บรรจุอยู่ประมาณ 130 , 000 ตัว จึงเป็นเหตุให้เกิด ความร้อนสูงในขณะทำงาน ดังนั้นจึงต้องมีการติดตั้งพัดลมและแผ่นระบายความร้อน ( Heat Sink )

Intel 80386SX/80386DX (1985-1990) 


ผลิตออกมาเมื่อปี ค.ศ. 1985 ด้วยความเร็ว 16 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขนาดของบัสข้อมูล 16 บิต แต่มีขีดความสามารถและความเร็วสูงกว่า 80826 มีทรานซิสเตอร์ภายใน 250 , 000 ตัว สถาปัตยกรรมภายในเป็นระบบประมวลผลแบบ 32 บิต แต่สถาปัตยกรรมภายนอกที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดาต้าบัสเพื่อรับ ส่งข้อมูลจะเป็นแบบ 16 บิต โดย 80386 SX มีความเร็วตั้งแต่ 16 , 50 , 25 , และ33 เมกะเฮิรตซ์

Intel 80486SX/ 80486 DX (1989-1994)

ซีพียูรุ่น 80486 มีความเร็วตั้งแต่ 20 , 25 , และ 33 เมกะเฮิรตซ์ ทำงานแบบ 32 บิต และมีแคช ภายใน ( Intel Cache ) ทำสามารถทำงานได้เร็วกว่ารุ่น80386 ที่จำนวนของสัญญาณนาฬิกา เท่ากัน โดยในรุ่น 80486 SX ยังไม่มี Math Coprocess รวมอยู่ในซีพียู ต่อมาทางอินเทลก็ได้ออกเครื่องรุ่น 80486 DX มีความเร็วตั้งแต่ 50 , 66 , 100 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขีดความสามารถสูงขึ้นทั้งด้านความเร็วในการคำนวณและเทคโนโลยีโดยการรวม เอา Math Coprocessorและ แคชมารวมอยู่ในชิปเดียวกันกับซีพียู

INTEL PENTIUM



อินเทลเพนเทียม Intel Pentium (1993-1998)
ในช่วงแรกได้ผลิตออกมาที่ความเร็ว 60 และ66 เมกะเฮิรตซ์ อีกไม่นานนักอินเทลก็ได้ ผลิตความเร็วสูงขึ้นอีกเป็น 75 และ 90 เมกิเฮิรตซ์ ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากรุ่นแรกๆ และยังสามารถพัฒนาความเร็วไปได้อีกคือ 100 , 13 , 150 และ 166 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขีด ความสามารถสูงขั้นทั้งทางด้านความเร็วและเทคโนโลยี มีแคชภายในมากขึ้น และมี ความสามารถในการทำงานกับเลขทศนิยมได้ดีขึ้น และมีความสามารถในการทำงานกับเลข ทศนิยมได้ดีขึ้นโดยรุ่นแรกๆนั้นมีทรานซิสเตอร์ล้านกว่าตัว จึงทำให้มีความร้อนสูงมาก

PENTIUM II 


Pentium ll เป็นซีพียูที่ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีของ Pentium Proผนวกเข้ากับเทคโนโลยี MMX ที่ใช้สถาปัตยกรรมการทำงานแบบใหม่ที่เรียกว่า“Single InstructionMultiple Data (SIMD)” ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างสถาปัตยกรรมภายในซิปถึง 70 จุด เพื่อเร่งความเร็วในการ ทำงานแบบ 64 บิต และยังมีการเพิ่มชุดคำสั่งเข้าไปอีก 70 คำสั่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ประมวลผลงานด้าน มิติ

เพนเทียมทูคลาเมธ Pentium II Klamath 



คือชิปรุ่นต่อมาซึ่งถูกพัฒนาความสามารถให้สูงขึ้น Pentium II Klamathเป็นชิปตัวแรก ในตลาด ที่เปลี่ยนจากอินเอตร์เฟซแบบซ็อกเกตมาเป็นสล็อตแทน ซีพียูเพนเทียมทูคลาเมธ มี ความเร็วเริ่มตั้งแต่ 233-300 MHz . ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน มีสถาปัตยกรรม แบบ SECC (Single Eade Contact Cartridge) ซึ่งมีลักษณะเป็นการ์ดที่ใช้กับ Slot 1 มีแคช ระดับสองติดตั้งอยู่บนการ์ดซีพียู ทำงานที่ความเร็วบัส 66 MHz ใช้ไฟเลี้ยง 2.0 โวลด์
เพนเทียมทูเดสชู๊ตส์ ( Pentium II Deschutes )
ซีพียูในรุ่นนี้เป็นการพัฒนาในส่วนของแกนซีพียูให้สามารถทำงานได้ที่ความเร็วสูงขึ้น โดย การลดขนาดการผลิตลงจาก 0.35 มาเป็น 0.25 ไมครอน และเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีการ ผลิตที่เล็กลง ทำให้ลดการใช้ไฟเลี้ยงซีพียูน้อยลงอีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดความร้อนบนแกนซีพียู

CELERON


ทางอินเทลได้นำเอาซีพียูเพนเทียมทูในรุ่นคลาเมธมาทำการตัดเอาส่วนของหน่วยความจำแคช ระดับสองออก เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงทำให้ซีพียูเซเลอรอนมีสถาปัตยกรรม ภายในแบบเดียวกับเพนเทียมทู เพียงแต่ซีพียูเซลเลอรอนจะไม่มีหน่วยความจำแคชระดับสอง เท่านั้น การที่ Celeronสนันสนุน MMX การโอนถ่ายข้อมูลมัลติมีเดียได้ด้วยความเร็วสูง แต่ ความสามารถของมันก็ไม่ได้เร็วอย่างที่คาดไว้ เพราะ แคชที่มีเพียง 32 K กับบัส ที่ความเร็ว 66 MHz ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก และให้ชื่อรหัสการพัฒนาในรุ่นนี้ว่าโควินตัน ( Covignton )

เซลเลอรอนโควินตัน( Covington )


ซีพียูโควินตันจะมีด้วยกัน รุ่นคือ รุ่นความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้เทคโนโลยีการ ผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ส่วนของชิปจะถูกติดตั้งบนแผงวงจรขนาดเล็กที่เรียกว่า SECC ในเพ นเทียมทู แต่ในตระกูลเซลเลอรอนจะเรียกแผงวงจรดังกล่าวว่า SEPP (Single Edge Processor Packege) แทน ซึ่งจะใช้ติดตั้งบนเมนบอร์ดแบบ Slot 1 เช่นเดียวกัน และแผงวงจร SEPP ก็จะ ถูกบรรจุอยู่ในพลาสติกสีดำคล้ายตลับเกม

เซลเลอรอนเมนโดชิโน ( Mendocino ) 


ซีพียูในรุ่นนี้จีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับเพนเทียมทูรุ่นรหัส Deschutesคือใช้ เทคโนโลยีการผลิตขนาด 02.5 ไมครอน ซึ่งเป็นเทคโนโบยีการผลิตซีพียูที่มีขนาดเล็กกว่าเซล เลอรอนโควินตันที่ใช้ 0.35 ไมครอน และที่สำคัญยังด้เพิ่มส่วนของหน่วยความจำแคชระดับ สองเข้าไปบนตัวชิปซีพียูอีก 128 KB โดยแคชจะทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู จะเป็นว่า หน่วยความจำแคชระดับสองของเมนโดชิโนจะมีขนาดเล็กกว่าเพนเทียมทูซึ่งมีขนาด 512 KB แต่แคชระดับสองเมนโดชิโนจะทำงานเร็วกว่า แคชของเพนเทียมทู ซึ่งมีความเร็วเพียง ครึ่งหนึ่งของซีพียูเท่านั้น โดยซีพียูในรุ่นนี้จะเริ่มที่ความเร็ว 300 -433 MHz และถูกติดตั้งบน แผงวงจรขนาดเล็กที่เรียกว่า SEPP

ซีพียูเซลเลอรอน PPGA Socket 370

เพื่อเป็นการลดต้นทุนอินเทลจึงได้ออกแบบ PPGA ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่าแบบ Slot 1 สำหรับ ซีพียูเซลเลอรอนแบบ PPGA Socket 370 นี้ ยังคงมีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับเมนโดชิโนที่ใช้ เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25ไมครอน กับแคชระดับสองขนาด 128 KB ซึ่งทำงานที่ ความเร็วเดียวกับซีพียู มีความเร็วตั้งแต่ 300 – 533 MHz

PENTIUM III


เพนเทียมทรี Pentium III
ซีพียูเพนเทียมทรีเป็นซีพียูที่ได้ทำการเพิ่มชุดคำสั่ง Streaming SIMD Extension :SSE เข้าไป 70 คำสั่ง ซึ่งมีหน้าที่เร่งความเร็วให้กับการประมวลผลข้อมูลที่เป็นภาพ มิติ พร้อมกับการเปลี่ยน หน่วยความจำแคชระดับสองให้เร็วขึ้นคือ จาก5.5 ns มาเป็น 4 ns
ซึ่งในรุ่นแรกนี้ใช้ชื่อรหัสว่า แคทไม Katmai และยังคงใช้เทคโนโลยีซีพียูแบบSlot 1 เช่นเดียวกับเพนเทียมทู ต่อมาทางอินเทลได้ผลิตซีพียูเพนเทียมทรีออกมาใหม่คือ Coppermine ซึ่งมี รูปแบบซีพียูแบบ Slot 1 เช่นกัน

ซีพียูเพนเยมทรีแคทไม Pentium III Katmai 


เป็นซีพียูที่มีความเร็วเริ่มต้นที่ 450 MHz ไปจนถึง 620 MHz ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด0.25 ไมครอน มีทรานซิสเตอร์จำนวน 28 ล้านตัว ใช้สถาปัตยกรรมแบบ SECC 2 (Single Edge Contact Cartridge 2 )

ซีพียูเพนเทียมทรีคอปเปอร์ไมน์ Pentuim III Coppermine 


ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน มีทรานซิสเตอร์จำนวน 28ล้านตัว ซีพียูมีแพ็คเกจแบบ SECC2 และลดขนาดของหน่วยความจำแคชระดับสองลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งคือ 256 KB แต่เป็น หน่วยความจำแคชที่สร้างบนชิปซีพียูซึ่งทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู เท่ากับว่าแคชของซีพียูคอปเปอร์ไมน์ทำงานเร็วเป็น เท่า ของซีพียูแคทไม โดยหน่วยความจำแคชระดับสองนี้จะใช้ เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Advanced Transfer Cache: ATC

Pentium 4


เพนเทียมโฟร์ Pentium 4 เป็นรุ่นที่ค่อนข้างจะมีความเร็วผิดจากที่คาดไว้ และมี Cache น้อย อย่างไรก็ดี ชิปชุดนี้ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมการ ออกแบบที่ใหม่ทั้งหมด ระบบไปป์ไลน์ 20 ขั้น ต่อมาได้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Intel Pentium Processor ที่จะมาแทนที่ Pentium III จะออกสู่ตลาดด้วยความเร็วเริ่มต้นที่ 1.4 GHz 1.5 GHz ภายใต้สถาปัตยกรรมใหม่ล่าสุดที่ชื่อ Intel NetBurst micro - architecture นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มชุดคำสั่งใหม่ SSE 2 เข้าไปอีก 144 ชุดคำสั่ง 


เทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้นใน Pentium 4
1. Intel NetBurst micro – architecture เป็นสถาปัตยกรรมแบบใหม่ล่าสุดที่ช่วยให้สามารถ เร่งความเร็วของสัญญาณนาฬิกาให้ทำงานได้ที่ความถี่สูงๆ และเป็นจุดกำเนิดเทคโนโลยีใหม่ ๆอีก หลายอย่าง ที่ช่วยให้ Pentium 4 มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. Hyper Pipelined Technology เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ Pentium 4 สามารถทำงานตามคำสั่งซอฟต์แวร์ใน Pipeline ได้สูงถึง 20 ขั้นตอน รวมถึงการรองรับความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่ความเร็ว 1.5 และ 1.4 GHz
3. Rapid Execution Engine เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ซีพียู Pentium 4 มีความเร็วของบัสระบบ สูงถึง 400 MHz ซึ่งจะช่วยให้ซีพียูสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูและอุปกรณ์อื่นๆเร็วขึ้น รวมถึงการรับส่งข้อมูลกับหน่วยความจำ Rambusก็มีประสิทธิภาพขึ้นด้วย
4. Streaming SIMD Extensions 2 (SSE2) เป็นเทคโนโลยีชุดคำสั่งพิเศษที่พัฒนาต่อจาก SSE ซึ่งได้บรรจุคำสั่งใหม่เพิ่มเข้าไปอีก 144 คำสั่ง จากคำสั่งที่มีอยู่เดิมใน MMX และ SSE ซึ่ง ประกอบด้วยคำสั่งที่จัดการกับข้อมูลแบบจำนวนเต็มและทศนิยม อีกทั้งขยายขนาดของ SIMD Integer จากเดิม 64 บิต ที่ใช้กับเทคโนโลยี MMX มาเป็น 128 บิต ที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ อัตรากรรคำนวณสำหรับ SIMD Integer เป็น เท่า
5. Execution Trace Cache เป็นตัวถอดรหัสเพื่อแปลความหมายของคำสั่งที่ได้รับจากแรม พร้อมกับจัดเก็บคำสั่งที่ผ่านการถอดรหัสเรียบร้อยแล้ว เมื่อใดก็ตามที่ซีพียูมีการเรียกคำสั่งบางคำสั่งที่ อาจซ้ำกับคำสั่งที่มีอยู่ใน Trace Cache ก็จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาถอดรหัสซ้ำอีก
6. Advanced Trace Cache เป็นหน่วยความจำแคชระดั 2 ขนาด 256 KB ที่ติดตั้งอยู่บน Die ของแผ่นซิลิกอน ที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกับซีพียู ซึ่งเทคโนโลยีนี้ใช้มาตั้งแต่ซีพียู Pentium III แล้ว แต่ได้ทากรขยายช่องทางการส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับแคชเพิ่มจากเดิมที่มีขนาด 64 ไบต์ ขณะที่ Pentium 4 มีขนาด 128 ไบต์ ทำให้มีการรับส่งข้อมูลได้สูงกว่ามาก
7. Advanced Dynamic Execution ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘Speculative Execution' ซึ่งเป็น กระบวนการทำงานคำสั่งใดๆ เสร็จเพียงครึ่งทางก่อน แล้วรอดูว่ามีคำสั่งไหนที่ต้องการใช้ใน ขั้นต่อไป โดย Pentium 4 สามารถมองเห็นคำสั่งได้ 126 คำสั่ง ในแต่ละเที่ยว และโหลดคำสั่ง ได้ 48 คำสั่ง และเก็บคำสั่งไว้ในPipeline ได้ 24 คำสั่ง ช่วยลดจำนวนโครงข่ายที่เป็นสาเหตุให้ เกิดการทำนายผิดพลาดลง 33 %
8. Enhanced Floating Point/ Multimedia ซีพียู Pentium 4 ได้ขยายส่วนของการคำนวณ Floating Point Register ให้กว้างถึง 128 บิต เพื่อให้การคำนวณเลขทศนิยมมีความรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถทำงานกับโปรแกรมด้านมัลติมีเดียได้ดี
Pentuim 4 90 นาโนเมตร
เป็นโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 90 นาโนเมตรเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในวงอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ที่อินเทลนำมาใช้เป็นพิเศษสำหรับผลิตชิปบน เวเฟอร์ ขนาด 300 มิลลิเมตร เทคโนโลยีการผลิตใหม่นี้ประกอบด้วยทรานซิลเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและกินไปต่ำลง สเตรนซิลิคอน( strained silicon ) อินคอนเน็ค ความเร็วสูงที่ทำจากทองแดง( high – speed copper intercon - nects ) และวัสดุใหม่แบบ ( low – k dielectric ) ยังคงมีเทคโนโลยีไฮเปอร์ – เธรดดิ่ง ที่ช่วยการทำงานแบบมัลติทาสก์กิ้งอยู่เช่นเดิม และมี คุณสมบัติใหม่ๆเพิ่มเติม เช่น Enhanced Intel Micro-architecture แคช L2มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น เมกะไบต์ และมีชุดคำสั่งเพิ่มขึ้นอีก 13 ชุด โปรเซสเซอร์ของอินเทลรุ่นต่างๆ ที่มีเทคโนโลยี ไฮเปอร์ – เธรดดิ่ง
ที่มา

ประวัติและวิวัฒนาการของ CPU INTEL

หลังจากที่ Intel ออกCPU สำหรับอุปกรณ์พกพาในชื่อว่า Atom ไปเรียบร้อยแล้วนั้น กระแสก็ออกมาแรงเห็นๆ ทั้งกลุ่มผู้ผลิตมากมายก็เจาะตลาดขาย Netbook กันอย่างล้นหลาม Intel นั้นมีตำนานในการผลิต Microprocessor ตั้งแต่ใช้ในเครื่องคิดเลข และพัฒนาต่อยอดขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งทำให้เห็นว่าศักยภาพของการพัฒนาที่ไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ทำให้เราได้ใช้เทคโนโลยีอย่างไร้ขีดจำกัด อยู่ที่ว่าเงินในกระเป๋า
เราจะมีแค่ไหน ที่นี่เรามาย้อนดูวิวัฒนาการกัน

Intel 4004 (1971)

Microprocessor รุ่นแรกของ Intel ใช้งานในเครื่องคิดเลข


Intel 8086 / 8088 (1978-1979) 


ซีพียูรุ่น 8086 เป็นซีพียูของอินเทลที่ทำงานแบบ 16 บิตแบบสมบูรณ์ เพราะทั้งสถาปัตยกรรม ภายในและภายนอกเป็นแบบ 16 บิตอย่างแท้จริง ต่างจาก 8088 ที่สถาปัตยกรรมภายในเป็น ระบบประมวลผลแบบ 16 บิต แต่สถาปัตยกรรมภายนอกที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดาต้าบัส เพื่อ รับส่งข้อมูลเป็นแบบ บิต

Intel 80286 (1982) 


ในปี ค.ศ. 1982 อินเทลก็ได้ผลิตซีพียูรุ่น 80286 ที่มีความเร็วเพียงแค่ เมกิเฮิรตช์ ซึ่งบัสของ 80286 เป็นแบบ 16 บิต ภายในมีทรานซิลเตอร์บรรจุอยู่ประมาณ 130 , 000 ตัว จึงเป็นเหตุให้เกิด ความร้อนสูงในขณะทำงาน ดังนั้นจึงต้องมีการติดตั้งพัดลมและแผ่นระบายความร้อน ( Heat Sink )

Intel 80386SX/80386DX (1985-1990) 


ผลิตออกมาเมื่อปี ค.ศ. 1985 ด้วยความเร็ว 16 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขนาดของบัสข้อมูล 16 บิต แต่มีขีดความสามารถและความเร็วสูงกว่า 80826 มีทรานซิสเตอร์ภายใน 250 , 000 ตัว สถาปัตยกรรมภายในเป็นระบบประมวลผลแบบ 32 บิต แต่สถาปัตยกรรมภายนอกที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดาต้าบัสเพื่อรับ ส่งข้อมูลจะเป็นแบบ 16 บิต โดย 80386 SX มีความเร็วตั้งแต่ 16 , 50 , 25 , และ33 เมกะเฮิรตซ์

Intel 80486SX/ 80486 DX (1989-1994)

ซีพียูรุ่น 80486 มีความเร็วตั้งแต่ 20 , 25 , และ 33 เมกะเฮิรตซ์ ทำงานแบบ 32 บิต และมีแคช ภายใน ( Intel Cache ) ทำสามารถทำงานได้เร็วกว่ารุ่น80386 ที่จำนวนของสัญญาณนาฬิกา เท่ากัน โดยในรุ่น 80486 SX ยังไม่มี Math Coprocess รวมอยู่ในซีพียู ต่อมาทางอินเทลก็ได้ออกเครื่องรุ่น 80486 DX มีความเร็วตั้งแต่ 50 , 66 , 100 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขีดความสามารถสูงขึ้นทั้งด้านความเร็วในการคำนวณและเทคโนโลยีโดยการรวม เอา Math Coprocessorและ แคชมารวมอยู่ในชิปเดียวกันกับซีพียู

INTEL PENTIUM



อินเทลเพนเทียม Intel Pentium (1993-1998)
ในช่วงแรกได้ผลิตออกมาที่ความเร็ว 60 และ66 เมกะเฮิรตซ์ อีกไม่นานนักอินเทลก็ได้ ผลิตความเร็วสูงขึ้นอีกเป็น 75 และ 90 เมกิเฮิรตซ์ ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากรุ่นแรกๆ และยังสามารถพัฒนาความเร็วไปได้อีกคือ 100 , 13 , 150 และ 166 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขีด ความสามารถสูงขั้นทั้งทางด้านความเร็วและเทคโนโลยี มีแคชภายในมากขึ้น และมี ความสามารถในการทำงานกับเลขทศนิยมได้ดีขึ้น และมีความสามารถในการทำงานกับเลข ทศนิยมได้ดีขึ้นโดยรุ่นแรกๆนั้นมีทรานซิสเตอร์ล้านกว่าตัว จึงทำให้มีความร้อนสูงมาก

PENTIUM II 


Pentium ll เป็นซีพียูที่ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีของ Pentium Proผนวกเข้ากับเทคโนโลยี MMX ที่ใช้สถาปัตยกรรมการทำงานแบบใหม่ที่เรียกว่า“Single InstructionMultiple Data (SIMD)” ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างสถาปัตยกรรมภายในซิปถึง 70 จุด เพื่อเร่งความเร็วในการ ทำงานแบบ 64 บิต และยังมีการเพิ่มชุดคำสั่งเข้าไปอีก 70 คำสั่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ประมวลผลงานด้าน มิติ

เพนเทียมทูคลาเมธ Pentium II Klamath 



คือชิปรุ่นต่อมาซึ่งถูกพัฒนาความสามารถให้สูงขึ้น Pentium II Klamathเป็นชิปตัวแรก ในตลาด ที่เปลี่ยนจากอินเอตร์เฟซแบบซ็อกเกตมาเป็นสล็อตแทน ซีพียูเพนเทียมทูคลาเมธ มี ความเร็วเริ่มตั้งแต่ 233-300 MHz . ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน มีสถาปัตยกรรม แบบ SECC (Single Eade Contact Cartridge) ซึ่งมีลักษณะเป็นการ์ดที่ใช้กับ Slot 1 มีแคช ระดับสองติดตั้งอยู่บนการ์ดซีพียู ทำงานที่ความเร็วบัส 66 MHz ใช้ไฟเลี้ยง 2.0 โวลด์
เพนเทียมทูเดสชู๊ตส์ ( Pentium II Deschutes )
ซีพียูในรุ่นนี้เป็นการพัฒนาในส่วนของแกนซีพียูให้สามารถทำงานได้ที่ความเร็วสูงขึ้น โดย การลดขนาดการผลิตลงจาก 0.35 มาเป็น 0.25 ไมครอน และเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีการ ผลิตที่เล็กลง ทำให้ลดการใช้ไฟเลี้ยงซีพียูน้อยลงอีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดความร้อนบนแกนซีพียู

CELERON


ทางอินเทลได้นำเอาซีพียูเพนเทียมทูในรุ่นคลาเมธมาทำการตัดเอาส่วนของหน่วยความจำแคช ระดับสองออก เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงทำให้ซีพียูเซเลอรอนมีสถาปัตยกรรม ภายในแบบเดียวกับเพนเทียมทู เพียงแต่ซีพียูเซลเลอรอนจะไม่มีหน่วยความจำแคชระดับสอง เท่านั้น การที่ Celeronสนันสนุน MMX การโอนถ่ายข้อมูลมัลติมีเดียได้ด้วยความเร็วสูง แต่ ความสามารถของมันก็ไม่ได้เร็วอย่างที่คาดไว้ เพราะ แคชที่มีเพียง 32 K กับบัส ที่ความเร็ว 66 MHz ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก และให้ชื่อรหัสการพัฒนาในรุ่นนี้ว่าโควินตัน ( Covignton )

เซลเลอรอนโควินตัน( Covington )


ซีพียูโควินตันจะมีด้วยกัน รุ่นคือ รุ่นความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้เทคโนโลยีการ ผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ส่วนของชิปจะถูกติดตั้งบนแผงวงจรขนาดเล็กที่เรียกว่า SECC ในเพ นเทียมทู แต่ในตระกูลเซลเลอรอนจะเรียกแผงวงจรดังกล่าวว่า SEPP (Single Edge Processor Packege) แทน ซึ่งจะใช้ติดตั้งบนเมนบอร์ดแบบ Slot 1 เช่นเดียวกัน และแผงวงจร SEPP ก็จะ ถูกบรรจุอยู่ในพลาสติกสีดำคล้ายตลับเกม

เซลเลอรอนเมนโดชิโน ( Mendocino ) 


ซีพียูในรุ่นนี้จีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับเพนเทียมทูรุ่นรหัส Deschutesคือใช้ เทคโนโลยีการผลิตขนาด 02.5 ไมครอน ซึ่งเป็นเทคโนโบยีการผลิตซีพียูที่มีขนาดเล็กกว่าเซล เลอรอนโควินตันที่ใช้ 0.35 ไมครอน และที่สำคัญยังด้เพิ่มส่วนของหน่วยความจำแคชระดับ สองเข้าไปบนตัวชิปซีพียูอีก 128 KB โดยแคชจะทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู จะเป็นว่า หน่วยความจำแคชระดับสองของเมนโดชิโนจะมีขนาดเล็กกว่าเพนเทียมทูซึ่งมีขนาด 512 KB แต่แคชระดับสองเมนโดชิโนจะทำงานเร็วกว่า แคชของเพนเทียมทู ซึ่งมีความเร็วเพียง ครึ่งหนึ่งของซีพียูเท่านั้น โดยซีพียูในรุ่นนี้จะเริ่มที่ความเร็ว 300 -433 MHz และถูกติดตั้งบน แผงวงจรขนาดเล็กที่เรียกว่า SEPP

ซีพียูเซลเลอรอน PPGA Socket 370

เพื่อเป็นการลดต้นทุนอินเทลจึงได้ออกแบบ PPGA ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่าแบบ Slot 1 สำหรับ ซีพียูเซลเลอรอนแบบ PPGA Socket 370 นี้ ยังคงมีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับเมนโดชิโนที่ใช้ เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25ไมครอน กับแคชระดับสองขนาด 128 KB ซึ่งทำงานที่ ความเร็วเดียวกับซีพียู มีความเร็วตั้งแต่ 300 – 533 MHz

PENTIUM III


เพนเทียมทรี Pentium III
ซีพียูเพนเทียมทรีเป็นซีพียูที่ได้ทำการเพิ่มชุดคำสั่ง Streaming SIMD Extension :SSE เข้าไป 70 คำสั่ง ซึ่งมีหน้าที่เร่งความเร็วให้กับการประมวลผลข้อมูลที่เป็นภาพ มิติ พร้อมกับการเปลี่ยน หน่วยความจำแคชระดับสองให้เร็วขึ้นคือ จาก5.5 ns มาเป็น 4 ns
ซึ่งในรุ่นแรกนี้ใช้ชื่อรหัสว่า แคทไม Katmai และยังคงใช้เทคโนโลยีซีพียูแบบSlot 1 เช่นเดียวกับเพนเทียมทู ต่อมาทางอินเทลได้ผลิตซีพียูเพนเทียมทรีออกมาใหม่คือ Coppermine ซึ่งมี รูปแบบซีพียูแบบ Slot 1 เช่นกัน

ซีพียูเพนเยมทรีแคทไม Pentium III Katmai 


เป็นซีพียูที่มีความเร็วเริ่มต้นที่ 450 MHz ไปจนถึง 620 MHz ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด0.25 ไมครอน มีทรานซิสเตอร์จำนวน 28 ล้านตัว ใช้สถาปัตยกรรมแบบ SECC 2 (Single Edge Contact Cartridge 2 )

ซีพียูเพนเทียมทรีคอปเปอร์ไมน์ Pentuim III Coppermine 


ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน มีทรานซิสเตอร์จำนวน 28ล้านตัว ซีพียูมีแพ็คเกจแบบ SECC2 และลดขนาดของหน่วยความจำแคชระดับสองลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งคือ 256 KB แต่เป็น หน่วยความจำแคชที่สร้างบนชิปซีพียูซึ่งทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู เท่ากับว่าแคชของซีพียูคอปเปอร์ไมน์ทำงานเร็วเป็น เท่า ของซีพียูแคทไม โดยหน่วยความจำแคชระดับสองนี้จะใช้ เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Advanced Transfer Cache: ATC

Pentium 4


เพนเทียมโฟร์ Pentium 4 เป็นรุ่นที่ค่อนข้างจะมีความเร็วผิดจากที่คาดไว้ และมี Cache น้อย อย่างไรก็ดี ชิปชุดนี้ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมการ ออกแบบที่ใหม่ทั้งหมด ระบบไปป์ไลน์ 20 ขั้น ต่อมาได้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Intel Pentium Processor ที่จะมาแทนที่ Pentium III จะออกสู่ตลาดด้วยความเร็วเริ่มต้นที่ 1.4 GHz 1.5 GHz ภายใต้สถาปัตยกรรมใหม่ล่าสุดที่ชื่อ Intel NetBurst micro - architecture นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มชุดคำสั่งใหม่ SSE 2 เข้าไปอีก 144 ชุดคำสั่ง 


เทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้นใน Pentium 4
1. Intel NetBurst micro – architecture เป็นสถาปัตยกรรมแบบใหม่ล่าสุดที่ช่วยให้สามารถ เร่งความเร็วของสัญญาณนาฬิกาให้ทำงานได้ที่ความถี่สูงๆ และเป็นจุดกำเนิดเทคโนโลยีใหม่ ๆอีก หลายอย่าง ที่ช่วยให้ Pentium 4 มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. Hyper Pipelined Technology เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ Pentium 4 สามารถทำงานตามคำสั่งซอฟต์แวร์ใน Pipeline ได้สูงถึง 20 ขั้นตอน รวมถึงการรองรับความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่ความเร็ว 1.5 และ 1.4 GHz
3. Rapid Execution Engine เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ซีพียู Pentium 4 มีความเร็วของบัสระบบ สูงถึง 400 MHz ซึ่งจะช่วยให้ซีพียูสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูและอุปกรณ์อื่นๆเร็วขึ้น รวมถึงการรับส่งข้อมูลกับหน่วยความจำ Rambusก็มีประสิทธิภาพขึ้นด้วย
4. Streaming SIMD Extensions 2 (SSE2) เป็นเทคโนโลยีชุดคำสั่งพิเศษที่พัฒนาต่อจาก SSE ซึ่งได้บรรจุคำสั่งใหม่เพิ่มเข้าไปอีก 144 คำสั่ง จากคำสั่งที่มีอยู่เดิมใน MMX และ SSE ซึ่ง ประกอบด้วยคำสั่งที่จัดการกับข้อมูลแบบจำนวนเต็มและทศนิยม อีกทั้งขยายขนาดของ SIMD Integer จากเดิม 64 บิต ที่ใช้กับเทคโนโลยี MMX มาเป็น 128 บิต ที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ อัตรากรรคำนวณสำหรับ SIMD Integer เป็น เท่า
5. Execution Trace Cache เป็นตัวถอดรหัสเพื่อแปลความหมายของคำสั่งที่ได้รับจากแรม พร้อมกับจัดเก็บคำสั่งที่ผ่านการถอดรหัสเรียบร้อยแล้ว เมื่อใดก็ตามที่ซีพียูมีการเรียกคำสั่งบางคำสั่งที่ อาจซ้ำกับคำสั่งที่มีอยู่ใน Trace Cache ก็จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาถอดรหัสซ้ำอีก
6. Advanced Trace Cache เป็นหน่วยความจำแคชระดั 2 ขนาด 256 KB ที่ติดตั้งอยู่บน Die ของแผ่นซิลิกอน ที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกับซีพียู ซึ่งเทคโนโลยีนี้ใช้มาตั้งแต่ซีพียู Pentium III แล้ว แต่ได้ทากรขยายช่องทางการส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับแคชเพิ่มจากเดิมที่มีขนาด 64 ไบต์ ขณะที่ Pentium 4 มีขนาด 128 ไบต์ ทำให้มีการรับส่งข้อมูลได้สูงกว่ามาก
7. Advanced Dynamic Execution ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘Speculative Execution' ซึ่งเป็น กระบวนการทำงานคำสั่งใดๆ เสร็จเพียงครึ่งทางก่อน แล้วรอดูว่ามีคำสั่งไหนที่ต้องการใช้ใน ขั้นต่อไป โดย Pentium 4 สามารถมองเห็นคำสั่งได้ 126 คำสั่ง ในแต่ละเที่ยว และโหลดคำสั่ง ได้ 48 คำสั่ง และเก็บคำสั่งไว้ในPipeline ได้ 24 คำสั่ง ช่วยลดจำนวนโครงข่ายที่เป็นสาเหตุให้ เกิดการทำนายผิดพลาดลง 33 %
8. Enhanced Floating Point/ Multimedia ซีพียู Pentium 4 ได้ขยายส่วนของการคำนวณ Floating Point Register ให้กว้างถึง 128 บิต เพื่อให้การคำนวณเลขทศนิยมมีความรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถทำงานกับโปรแกรมด้านมัลติมีเดียได้ดี
Pentuim 4 90 นาโนเมตร
เป็นโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 90 นาโนเมตรเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในวงอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ที่อินเทลนำมาใช้เป็นพิเศษสำหรับผลิตชิปบน เวเฟอร์ ขนาด 300 มิลลิเมตร เทคโนโลยีการผลิตใหม่นี้ประกอบด้วยทรานซิลเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและกินไปต่ำลง สเตรนซิลิคอน( strained silicon ) อินคอนเน็ค ความเร็วสูงที่ทำจากทองแดง( high – speed copper intercon - nects ) และวัสดุใหม่แบบ ( low – k dielectric ) ยังคงมีเทคโนโลยีไฮเปอร์ – เธรดดิ่ง ที่ช่วยการทำงานแบบมัลติทาสก์กิ้งอยู่เช่นเดิม และมี คุณสมบัติใหม่ๆเพิ่มเติม เช่น Enhanced Intel Micro-architecture แคช L2มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น เมกะไบต์ และมีชุดคำสั่งเพิ่มขึ้นอีก 13 ชุด โปรเซสเซอร์ของอินเทลรุ่นต่างๆ ที่มีเทคโนโลยี ไฮเปอร์ – เธรดดิ่ง


Advanced Micro Device. (AMD) 
แอดวานซ์ ไมโคร ดีไวซ์, Inc. หรือ เอเอ็มดี เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งเมื่อ ปี ค.ศ. 1969 โดยพนักงานเก่าจากบริษัท Fairchild Semiconductor โดย เอเอ็มดี ผลิตสินค้าเกี่ยวกับ เซมิคอนดัคเตอร์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเป็นผู้พัฒนา ซีพียู และเทคโนโลยีต่างๆ ออกสู่ตลาด และ ผู้ใช่ทั่วไป.โดยที่สินค้าหลักของบริษัทคือ ไมโครโพรเซสเซอร์,เมนบอร์ดชิปเซ็ต,การ์ดแสดงผล,ระบบฟังตัว สำหรับคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์,คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และ ระบบฝังตัวต่าง โดยที่ผลิตภัณฑ์ของเอเอ็มดีที่เป็นที่รู้จักได้แก่ไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูล APU,Phenom II,Athlon IISempron, บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล APU Mobile,DuronTurion,ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา Opteron, สำหรับเซิร์ฟเวอร์ และชิปกราฟิก Readeon
เอเอ็มดี เป็นผู้ผลิตอันดับ 2 ในตลาดของไมโครโพรเซสเซอร์ ที่มีพื้นฐานอยู่บน x86 อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้ผลิตชิปกราฟิกการ์ดรายใหญ่ของโลก และ ยังผลิตหน่วยความจำแบบแฟลช โดยในปี 2010 AMD เป็นผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ อันดับที่ 12 ของโลก
เอเอ็มดีนับเป็นคู่แข่งที่สำคัญของอินเทลในตลาดไมโครโพรเซสเซอร์ และมีคดีความฟ้องร้องกันอยู่ในหลายประเทศ เรื่องอินเทลผูกขาดการค้า ปัจจุบันได้ทำการยอมความกันไปแล้ว
ตระกูลชิปประมวลที่เลิกผลิตไปแล้ว
  • AMD 8086AMD 80286AMD 80386AMD Am486
  • AMD K5  หลังจากที่ทาง Intel นั้นได้เปลี่ยนรูปแบบของชื่อ มาใช้แบบที่ไม่เป็นตัวเลข ทาง AMD ก็เอาบ้างสิ โดยเจ้า K5 นี้ ทาง AMD ก็กะจะเอามาชนกันตรงๆ กับ Intel Pentium เลยทีเดียว ซึ่งจะใช้งานบน Socket 5 เหมือนๆ กับ Pentium ด้วย และเพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสนในเรื่องรุ่นของความเร็ว ก็เลยมีการนำเอา PR-Rating มาใช้ในการเปรียบเทียบ ระดับความเร็ว เมื่อเทียบกับทาง Intel ซึ่งรุ่นนี้ก็มีตั้งแต่รุ่น 75 ถึง 166 MHz ใช้ความเร็วบัสของระบบที่ 50-66 MHz K5 นี้ ก็จะมีอยู่ด้วยกันถึง 4 Version ครับ แตกต่างกันไปนิดๆ หน่อย โดย Version แรกนั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.6 ไมครอน ก็คือ K5-75, 90,100 .. Version ที่ 2 นั้น จะใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ได้แก่ K5-100 .. ส่วน Version ถัดมานั้นได้มีการปรับปรุง Core ใหม่อีกเล็กน้อย คือรุ่นK5-PR120 และ PR133 ส่วน Version สุดท้าย ก็คือ K5-PR166 ซึ่งใช้ตัวคูณที่แปลก แหวกแนวจากชาวบ้านเขา คือ คูณด้วย 1.75 ใช้งานบน FSB 66 MHz 
  • AMD K6 เป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของทาง AMD ซึ่งชิงเกิดก่อน Pentium II ของทาง Intel เพียงเดือนเดียว คือเริ่มวางจำหนายในเดือนเมษายน ปีค.ศ. 1997 ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน เริ่มต้นด้วยความเร็ว 166 MHz จนถึง 233 MHz ซึ่งรุ่นหลังนี้ ก็ได้ลดขนาดการผลิตเหลือเพียง 0.25 ไมครอนด้วย K6 นี้ ใช้โครงสร้างสถาปัตยกรรมของ Nx686 ของทาง NexGen ซึ่งทาง AMD ซื้อบริษัทนี้เข้าไว้ตั้งแต่ก่อนออก K5 เสียอีก มีขนาดของ Cache ระดับ 1 ที่มากกว่า Intel Pentium MMX เป็นเท่าตัว คือมีถึง 64K ( Instruction Cache 32K และ Data Cache อีก 32K ) นอกจากนี้ยังได้รวมเอาชุดคำสั่ง MMX ของทาง AMD เอง เข้าไว้ด้วย ส่วนสถาปัตยกรรมโครงสร้างภายในนั้น ก็จะเป็นในรูปแบบของ RISC CPU ( Reduced Instruction Set Computer ) ใช้งานบน Socket 7 .. นอกเหนือไปจากนั้น ก็มี CPU ในสายนี้ แต่เป็น CPU สำหรับ Mobile PC นั้นคือ K6 Model 7 ที่มีระดับความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้ FSB 66 MHz ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน 
  • AMD K6-2 เป็น CPU ตัวใหม่ที่อยู่ในสายพันธุ์ที่ 6 เช่นเดิม เปิดตัวในราวๆ พฤษภาคม ค.ศ. 1998 ซึ่งโดยสถาปัตยกรรมหลักๆ แล้ว ก็จะยังคงคล้ายๆ กับทาง K6 เดิม เพียงแต่ได้มีการเพิ่มชุดคำสั่งที่ช่วยในการประมวลผล ด้าน Graphic 3 มิติ ที่เรียกว่า 3DNow! เข้าไว้ด้วย โดย CPU รุ่นนี้ ยังคงใช้ Cache ระดับ 2 ที่อยู่บน Mainboard เช่นเคย ทำงานที่ความเร็วเท่าๆ กับ FSB และมีขนาดตั้งแต่ 512K จนถึง 2MB มีความเร็วเริ่มต้นที่ 266 MHz ใช้ FSB 66 MHz ส่วนรุ่นความเร็วถัดมา 300 MHz นั้น จะใช้ FSB เป็น 100 MHz CPU K6-2 นี้ มีอยู่ด้วยกัน 2 Version คือ Version แรก ที่ความเร็ว 266 (66x4), 300 (100x3), 333 (95x3.5), 350 (100x3.5) และ 366 (66x5.5) MHz ซึ่งเป็น Original Version เลย ส่วน Version ถัดมานั้น ทาง AMD ได้ทำการปรับปรุงสถาปัตยกรรมแกนหลักของ CPU ใหม่ โดยเฉพาะตรงส่วนของการจัดการกับ Cache เรียกว่า CXT Core ซึ่งก็ใช้ใน K6-2 รุ่นความเร็วตั้งแต่ 380 MHz เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ถึงระดับความเร็ว 550 MHz แล้ว 
  •  Sharptooth (K6-II) ก็เป็นรุ่นที่มีการพัฒนาต่อจาก K6-2 อีกทีหนึ่ง โดยมาคราวนี้ ทาง AMD ได้จัดการเอา Cache ระดับ 2 รวมเข้าไว้ในตัว CPU เลย ด้วยขนาด 256 K ที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU และยังคงใช้ได้กับ Interface แบบ Socket 7 เดิม เพราะฉะนั้นจึงมอง Cache ที่อยู่บน Mainboard เป็น Cache ระดับ 3 ( ซึ่ง K6-2 นั้นมองว่าเป็น Cache ระดับ 2 ) ไปโดยปริยาย ... ออกสู่ท้องตลาดเมื่อกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1999 มีออกมาจำหน่ายเพียง 2 รุ่น คือ 400 และ 450 MHz ... และปัจจุบัน ได้ยกเลิกสายการผลิต CPU Sharptooth นี้แล้ว 
  •  AMD K6-II+ จะเป็น CPU ที่ใช้งานบน Socket 7 ตัวสุดท้ายของทาง AMD โดยจะเป็น CPU ที่มีคุณลักษณะต่างๆ คล้ายๆ กับเจ้า Sharptooth ที่ยกเลิกสายการผลิตไป เพียงแต่ว่า มีขนาดของ Cache ระดับ 2 เหลือเพียง 128K เท่านั้น และ CPU รุ่นนี้ จะเป็น CPU ที่ใช้ Socket 7 ตัวแรกด้วยที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน เริ่มต้นด้วยความเร็ว 533 MHz คาดว่าจะเปิดตัวในราวๆ ไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2000 นี้  สำหรับ CPU รุ่นนี้ บางแหล่งข่าวก็บอกว่าจะมีเฉพาะรุ่นทีใช้กับ Mobile PC เท่านั้น แต่บางแหล่ง ก็บอกว่ามีทั้ง 2 แบบเลย คือรุ่นที่ใช้กับ Mobile PC และรุ่นที่ใช้กับ Desktop PC 
  •  AMD K6-III+ เป็นรุ่นที่พัฒนามาแทนที่ K6-III เดิม เพราะรายละเอียดแทบทุกอย่างจะเหมือนเดิมทั้งสิ้น เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน ส่วนที่เหลือ ก็คือี Cache ระดับ 2 มีขนาดเป็น 2 เท่าของ K6-2+ คือ 256K และที่สำคัญจะมีเฉพาะรุ่นที่เป็น Mobile PC เท่านั้น สำหรับ K6-2+ และ K6-III+ สำหรับ Mobile PC นั้น จะมีคุณสมบัติใหม่ที่เรียกว่า PowerNow! หรือเดิมชื่อ Gemini ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน คล้ายๆ กับเทคโนโลยี SpeedStep ของทาง Intel ด้วยครับ
  •  AMD Argon
  •  AMD Duron ก็คือ Spitfire นั่นเองละครับ เพียงแต่ ทาง AMD นั้น พอถึงเวลาเปิดตัวอย่างเป็นทางการจริงๆ ก็กลับใช้ชื่อนี้ เป็นชื่อทางการค้าอย่างเป็นทางการแทนนั่นเอง 
  •  AMD Thunderbird หรือ เดิมมีชื่อเรียกว่า "Professional Athlon" ก็จะเป็น CPU ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน โดยจะมี Cache ระดับ 2 แบบ On-Chip ทำงานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU ที่ขนาด 512K และเจ้า Thunderbird นี้ จะเป็น CPU ตัวสุดท้ายที่ใช้งานบน Slot-A โดยรุ่นแรกๆ นั้นจะยังคงใช้งานบน Slot-A แต่รุ่นต่อๆ มาจะหันไปใช้งานบน Socket A ซึ่งเป็น Interface ใหม่ของทาง AMD .. เปิดตัวรุ่นตัวอย่างเป็นครั้งแรกที่งาน ISSCC'2000 ( International Solid-State Circuits Conference ) ที่จัดขึ้นในราวต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2000 นี้เอง ด้วยความเร็วที่นำมาแสดง คือ 1.1 GHz และคาดว่าจะเริ่มการจำหน่ายจริงๆ ในราวไตรมาสที่ 2 ของปี ค.ศ. 2000 นี้ ... จากข้อมูลล่าสุด พบว่าในรุ่นแรกที่วางตลาดนั้น จะมี Cache ระดับ 2 เพียง 256K และมี Cache ระดับ 1 ที่ขนาด 128K ... Thunderbird นี้ จะมีทั้งรุ่นที่ใช้งานกับ Slot-A และกับ Socket A ครับ 
  •  AMD Athlon / AMD K7 เป็นหน่วยประมวลผล บนซ็อคเก็ต A และ สล็อต A สำหรับตลาดทั่วไป วางจำหน่ายระหว่าง พ.ศ. 2542 ถึง พ.ศ. 2548 เป็น CPU ตัวแรกของทาง AMD ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้สถาปัตยกรรมของตัวเองทั้งสิ้น เพื่อแย้งข้อครหาที่ว่าพัฒนา CPU ตามหลัง Intel มาตลอด โดยเจ้า Athlon นี้ เป็น CPU ที่มีขนาดของ Cache ระดับ 1 ที่มากที่สุดในท้องตลาดปัจจุบันนี้ นั่นก็คือ 128 K ( Instruction 64K และ Data 64K ) มี Cache ระดับ 2 อยู่ใน Package เดียวกันกับ CPU ทำงานด้วยความเร็วเป็นครึ่งหนึ่ง และ 2/5 ของความเร็วของ CPU  มีการนำเอาระบบบัสที่ใช้กับ Processor Alpha มาใช้ กับ Athlon ด้วย คือ EV6 Bus ซึ่งโดยทฤษฎีแล้ว ก็สามารถสร้าง Mainboard ให้รองรับ Processor ทั้ง 2 แบบนี้ได้เลยละครับ คือทั้ง Alpha และ Athlon ใช้งานบนบัสของระบบที่ 100 MHz แต่ด้วยคุณสมบัติของ EV6 Bus ก็จะทำให้ระบบบัสภายในของ CPU นั้นเป็นเท่าตัวของบัสของระบบ คือเป็น 200 MHz และคาดว่าต่อไปน่าจะทำได้สูงถึง 400 MHz หรือมากกว่านี้อีกด้วย Athlon นี้จะมาพร้อมๆ กับชุดคำสั่ง MMX และ 3DNow! รุ่นพัฒนา ( เรียกว่า Enhance 3DNow! ) ใช้งานบน Interface ใหม่ของทาง AMD เอง เรียกว่า Slot-A มีความเร็วเริ่มต้นที่ 500 MHz 
  • AMD64 / AMD K8  CPU 64 Bit ในสาย x86 ตัวแรกของทาง AMD ที่เรียกว่า x86-64 เป็น CPU ที่เน้นสำหรับใช้งานด้าน Server / Workstation ใช้เทคโนโลยีการผลิตด้วยขนาด 0.13 ไมครอน รองรับการใช้งานแบบ 4-8 way Multi Processor... นอกจากนี้ ก็ยังมีการใช้งานระบบบัสแบบใหม่ ที่เรียกว่า Lighting Data Transport หรือ LDT ซึ่งจะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของ EV6 และ/หรือ EV7 Bus ผนวกกับ เทคโนโลยี SOI หรือ Silicon On Inulator ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วของ CPU ขึ้นมาอีก 20% แล้วยังจะช่วยลดความร้อนลงได้อีกไม่น้อย คาดว่าจะเริ่มต้นสุ่มตัวอย่างทดสอบในไตรมาสแรกของปี ค.ศ. 2002 และเริ่มผลิตเป็น Production ในไตรมาสถัดไป 
  • หรือ AMD Athlon64 เป็นหน่วยประมวลผลแบบ 64 บิต บนซ็อคเก็ต 754, 939 และซ็อคเก็ต AM2 สำหรับใช้งานในตลาดทั่วไป โดยเป็นรุ่นที่พัฒนาต่อจาก AMD Athlon
  • AMD Phenom

ตระกูลชิปที่อยู่ในสายการผลิตปัจจุบัน
  • AMD Sempron เป็นหน่วยประมวลผลแบบ 64 บิต บนซ็อคเกต A, 754939 ซ็อคเก็ต AM2 ซ็อคเก็ต AM3 สำหรับเครื่องพีซีราคาประหยัด
  • AMD FX เป็นหน่วยประมวลผล 4-8 คอร์ตระกูล AMD Bulldozer/Zambezi บนซ็อกเก็ต AM3+ มีการลดขนาดคอร์ลงจาก Phenom II ลง และได้มีการนำระบบโมดูล(Module) มาใช้ ซึ่ง 1 โมดูลจะมี 2 คอร์ขนาดเล็กที่ใช้แคชร่วมกัน นอกจากนั้นยังใส่ชุดคำสั่งใหม่เข้าไปเป็นจำนวนมาก
  • AMD A-Series เป็นหน่วยประมวล 2-4 คอร์ตระกูล AMD Llano บนซ็อคเก็ต FM1 โดยจะมีระบบกราฟิกในตัวซีพียูด้วย
  • AMD Fusion E/C-Series เป็นหน่วยประมวลผล 2 คอร์ โดยจะเป็นแบบฝังติดกับเมนบอร์ดทั้งโน้ตบุ๊คและเดสก์ทอป เน้นความประหยัดไฟ
โดยจะมีระบบกราฟิกในตัวซีพียูด้วย
มาลงซ็อคเก็ต FM1 ด้วยสำหรับใช้งานในตลาดทั่วไป โดยเป็นรุ่นที่มีพื้นฐานบนสถาปัตยกรรม Phenom

  • AMD Fusion CPU+GPU ซึ่งเป็นความหวังของค่าย AMD

       การเข้าครอบครองกิจการ ATI

ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 บริษัทเอเอ็มดีได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทเอทีไอ (ATi) ผู้ผลิตชิปการ์ดเร่งแสดงผล จำนวน 57 ล้านหุ้น ด้วยเงิน 4,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 บริษัทเอทีไอได้ถูกซื้อด้วยจำนวนเงินทั้งสิ้น 5,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขณะนี้เอทีไอได้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเอเอ็มดีแล้ว

ชิปกราฟิกที่ทาง AMD ผลิต
ภายหลังเอเอ็มดีครอบครองกิจการของเอทีไอแล้ว ได้ทำการพัฒนาชิป Readeon R600 เพื่อรองรับ DirectX 10.0 และ Shader Model 4.0 และถูกในไปใช้ในเครื่อง Xbox360 ในรุ่นที่รองรับกราฟิก DirectX 10.0 โดยปัจจุบันได้พัฒนาชิปมาถึงรุ่น Readeon Evergreen โดยรองรับ DirectX 11.0 และ Shader Model 5.0
  • Readeon R700 ชิปกราฟิกสำหรับคอมพิวเตอร์
  • Readeon Evergreen ชิปกราฟิกสำหรับคอมพิวเตอร์

เนื่องจากผมรวมรวมข้อมูลจากหลายๆเว็บไซต์เท่าที่หาได้ครับ ถ้าผิดพลาดประการใดก็กราบประทานอภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ หวังว่าบทความคงเป็นประโยชน์ให้กับผู้ศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของ AMD นะครับ ^^ 
                                            ประวัติความเป็นมาของ  apple
ประวัติ Apple เรื่องเล็กๆที่ควรรู้
แอปเปิล (Apple Inc.) หรือในชื่อเดิม แอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer Inc.) เป็นบริษัทในซิลิคอนวัลเลย์ ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แอปเปิลปฏิวัติคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 ด้วยเครื่องแอปเปิลทู (Apple II) และแมคอินทอช (Macintosh) ในยุค 80 ปัจจุบันแอปเปิลมีชื่อเสียงด้านฮาร์ดแวร์ เช่น ไอแมค ไอพอด ไอโฟน และ ร้านขายเพลงออนไลน์ไอทูนส์ ประวัติโดยย่อ บริษัท Apple Computer Inc. ได้เกิดขึ้นจากการร่วมกันก่อตั้งของ สตีฟ จ็อบส์ และ สตีฟ วอซเนียก ทำการปฏิวัติธุรกิจคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 โดยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขาย ในชื่อ Apple I ที่ราคาจำหน่าย 666.66 เหรียญ ในจำนวนและระยะเวลาจำกัด ภายในปีถัดมาก็ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำยอดจำหน่ายสูงสุดให้กับบริษัท ณ ขณะนั้นคือ Apple II ซึ่งเป็นการเปิดศักราชใหม่แห่งวงการไมโครคอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างมาตรฐานให้กับไมโครคอมพิวเตอร์ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมด (อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาดังกล่าว ทางบริษัทจะมุ่งเน้นการขายระบบปฏิบัติการมากกว่าที่จะขายผลิตภัณฑ์ไมโครคอมพิวเตอร์ เนื่องจากประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์จากบริษัท Intel และ IBM ทำงานได้ดีกว่า) ต่อมาในยุค 80 Apple Inc. ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่งผลถึงยอดจำหน่ายที่สูงขึ้นตามลำดับ ภายใต้ชื่อผลิตภัณฑ์ Macintosh ซึ่งยังส่งผลให้ Apple ยังคงมีชื่อเสียงในด้านผลิตภัณฑ์มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยมาตรฐานและเอกลักษณ์ทางการตลาดที่สอดคล้องกับปณิธานองค์กรที่ว่า “คิดอย่างแตกต่าง (Think Different)” ผลิตภัณฑ์ที่มักได้รับการกล่าวถึงและเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งที่เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา (MacBook, MacBook Pro) และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (iMac, PowerMac) ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Mac OSX (แมคโอเอสเท็น) อุปกรณ์ฟังเพลงขนาดพกพา ได้แก่ สายผลิตภัณฑ์ iPod และ iPhone อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น iSight, AirPort ฯลฯ โปรแกรมและบริการเสริมต่างๆ อาทิ iTunes เป็นต้น เกร็ดอื่นๆ ในภาพยนตร์เรื่อง อัจฉริยะปัญญานิ่ม (Forrest Gump) ฟอร์เรสต์ กัมป์ ถูกชักชวนโดยผู้หมวดแดน ให้เป็นหุ้นส่วนของบริษัทแอปเปิล แต่ตัวฟอร์เรสต์เองนึกว่าหมายถึงแอปเปิลที่เป็นผลไม้ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น